อุปกรณ์จับยึดเพลา อุปกรณ์ล้อคเพลา

อุปกรณ์จับยึดเพลา อุปกรณ์ล้อคเพลา TAPER BUSH , TAPER LOCK , POWER LOCK , SHAFT LOCK , CAPT LOCK
เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจับยึดเพลา ให้การจับยึดเพลาทำได้แบบง่ายๆ โดยปกติแล้วงานสวมเพลาเป็นงานที่ละเอียดอ่อนและต้องพิถีพิถันมาก ทั้งจากเพลาที่ต้องมีขนาดพิกัดเพลาที่ถูกต้องเหมาะสม และจากรูเพลาที่ต้องมีพิกัดรูเพลาที่ถูกต้องเหมาะสม สองอย่างนี้เป็นสิ่งสำคัญถ้าผิดพลาดไปงานสวมเพลาก็จะมีปัญหา แต่อุปกรณ์ล็อคเพลาแก้ปัญหานี้ได้ เนื่องจากรูปแบบการล็อคเพลาที่อาศัยการบีบรัดเพลาจนแน่น จึงไม่มีปัญหาแต่อย่างใดถึงแม้ค่าพิกัดจะผิดเพี้ยนไปบ้าง ทั้งยังง่ายต่อการถอดประกอบ เพียงการขันน้อตคลายเกลียว อุปกรณ์ก็จะคลายการบีบรัดเพลาและสามารถถอดออกจากเพลาได้อย่างง่ายดาย อุปกรณ์ล็อคเพลานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ส่งกำลังทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น คัปปลิ้ง ( coupling ) พูลเล่ย์ ( pulley) เฟืองโซ่ (sprocket) เป็นต้น

1. TAPER BUSH , TAPER LOCK , เทเปอร์บูช , เทเปอร์ล็อค

ลักษณะเหมือนปลอก ผิวนอกเรียวส่วนรูกลางกลมและมีร่องลิ่มสำหรับสวมกับเพลางาน ที่ตัวชิ้นงานจะต้องเป็นรูเรียวเช่นเดียวกันเพื่อรับกับผิวนอกของเทเปอร์บูช การทำงานของเทเปอร์บูชอาศัยการขันน้อตสกรูที่ข้างตัวบูชเพื่อดันตัวเทเปอร์บูชให้จมลงในเบ้า เมื่อตัวเทเปอร์บูชจมลงรูเพลาก็จะหดเล็กลงด้วยเป็นการบีบรัดเพลาจนแน่น การถอดเพลาออกจากเทเปอร์บูชก็ใช้การขันน๊อตสกรูเช่นเดียวกัน แต่เป็นการขันเพื่อดันให้ตัวเทเปอร์บูชยกตัวขึ้น เมื่อเทเปอร์บูชยกตัวขึ้น รูเพลาก็ขยายออกทำให้เพลาหลุดออกจากเทเปอร์บูชอย่างง่ายดาย
เบอร์ของ TAPER BUSH เช่น
1008 , 1108 , 1210 , 1215 , 1310 , 1610 , 1615 , 2012 , 2517 , 2525 , 3020 , 3030
3525 , 3535 , 4040 , 4545 , 5050 , 6050

TAPER BUSH  , TAPER LOCK  ,  QD BUSH

2. Q D TAPER BUSH เทเปอร์บูชแบบหน้าแปลน

หลักการเหมือนกับเทเปอร์บูชแบบแรก แต่มีหน้าแปลนเพิ่มเติมขึ้นมาโดยการขันน็อตสกรูจะขันที่หน้าแปลนนี้แทน
เบอร์ของ Q D BUSH เช่น
JA , SH , SDS , SD , SK , SF , E , F , J , M , N , P+ , W+ , S+

TAPER BUSH  , TAPER LOCK  ,  QD BUSH

3. POWER LOCK , SHAFT LOCK , CAPT LOCK

อุปกรณ์นี้มีลักษณะเป็นทรงกระบอกตรงไม่เรียว ที่ตัวชิ้นงานก็กลึงเป็นรูกลมธรรมดาเพื่อรับกับผิวนอกของ POWER LOCK เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ได้แบบง่ายๆ ไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญใดๆ เพราะเพียงแต่กลึงรูกลมที่ชิ้นงานเท่านั้นก็สามารถนำ POWER LOCK ประกอบเข้าชิ้นงานได้แล้ว ลักษณะพิเศษอีกอย่างของ POWER LOCK คือไม่มีร่องลิ่ม สามารถล็อคเพลาได้แน่นโดยไม่ต้องใช้ลิ่ม การใช้งาน POWER LOCK ทำโดยการขันน็อตสกรูที่อยู่รอบตัว โดยการขันน็อตสกรูจะทำให้ผิวในหรือรูเพลาหดเล็กลงและบีบรัดเพลาจนแน่น ส่วนผิวนอกของ POWER LOCK จะขยายตัวใหญ่ขึ้นเพื่อเบ่งให้คับแน่นกับรูของชิ้นงาน

POWER LOCK , SHAFT LOCK , CAPT LOCK

4. POWER LOCK , SHAFT LOCK , CAPT LOCK แบบ self centering

หลักการทำงานเหมือนกันกับ POWER LOCK แบบแรก แต่ลักษณะพิเศษของ POWER LOCK แบบ self centering ที่ต่างออกไปคือเมื่อขันน็อตสกรูเพื่อบีบรัดเพลาจนแน่นแล้ว ตัวอุปกรณ์จะได้ศูนย์เดียวกันกับชิ้นงานโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องปรับแต่งอะไรเพิ่มเติมอีก

POWER LOCK , SHAFT LOCK , CAPT LOCK